วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557




5.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้รหัสจำลอง พร้อม 1 ตัวอย่าง


เป็นรหัสคำสั่งที่ใช้เขียนเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อ รหัสจำลองจะใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เช่น



4.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้สัญลักษณ์ พร้อม 1 ตัวอย่าง


เป็นการถ่ายทอดความคิดในรูปแบบแผนภาพ ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เรียกว่า การเขียนแผนผัง(flowchart) ใช้สำหรับการสื่อสารขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาให้เข้าใจตรงกัน เช่น

3.การถ่ายถอดความคิดโดยการแก้ปัญหาในการเขียนบรรยาย พร้อม 1 ตัวย่าง


เป็นการถ่ายทอดความคิดโดยการเขียนคำบรรยายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วไป


จงเขียนแผนผังสำหรับคำนวณหาพื้นที่วงกลม ทั้งนี้ให้รับค่ารัศมี และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ทางเครื่องพิมพ์

รายละเอียดของปัญหา : คำนวณหาพื้นที่วงกลม

การวิเคราะห์ : ขั้นตอนคำนวณหาพื้นที่วงกลม จากสูตร พื้นที่วงกลม = πr²

การออกแบบขั้นตอนวิธี : 1.ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ คือ พื้นที่วงกลม แทนด้วย Area

2.ข้อมูลเข้า คือ รัศมี แทนด้วย r

3.วิธีการประมวลผล ดังนี้

4.Answer 5 question on page 94

(1)จงอธิบายความหมายของการเขียนโปรแกรมและขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม

ตอบ กระบวนการใช้ภาษาคอมเพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลกำหนดขั้นตอนเพื่อใช้แก้ไขปัญหาไว้
ขั้นตอนการพัฒนา
1.การวิเคราะห์ปัญหา
2.การออกแบบโปรแกรม
3.การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
4.การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
5.การทำเอกสารประกอบโปรแกรม



(2)ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมมีภาษาใดบ้างจงอธิบาย
ตอบ ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาปาสกาล ภาษาจาว่า

(3)จงอธิบายขั้นตอนการเริ่มสร้างโปรเจกต์ใหม่ด้วยโปรแกรม
Microsoft Visual Studio
ตอบ 1) การเข้าสู่โปรแกรม คลิก Start >Programs >Microsoft Visual Studio 2008
2) การเริ่มสร้างโพรเจกต์ใหม่ คลิก Projact ของ Create จากนั้นคลิกที่ VisualC#
และเลือกปุ่ม Browse เพื่อให้ไฟล์ที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบในแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ พิมพ์ชื่อไฟล์
3) แถบเมนู เป็นเมนูหลักที่รวบรวมคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008
4) แถบเครื่องมือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียกใช้งานคำสั่งในเมนูบาร์ที่ใช้งานบ่อยครั้งทำได้ สะดวกขึ้น
5) กล่องเครื่องมือ เป็นหน้าต่างที่แสดงกลุ่มควบคุม และส่วนประกอบต่างๆ
6) หน้าต่าง Form Design ออกแบบหน้าตาของแอพพลิเคชัน
7) หน้าต่าง Solution Explorer แสดงรายการของไอเท็ม
8) หน้าต่าง Properties Window แสดงและกำหนดคุณสมบัติเื้บื้องต้นของกลุ่มควบคุม
9) หน้าต่าง Code Editor หน้าต่างที่ใช้สำหรับเขียนโค้ดควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชัน ตามที่ต้องการ



(4)การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป มีลักษณะอย่างไร

ตอบ ภาษาซีชาร์ป(C#)เป็นภาษาเชิงวัตถุ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาซีพลัสพลัส(C++)โดยบริาัทไมโครซอฟต์ซึ่งได้รวบรวมข้อ ดีของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจาวา(Java) ภาษาเดลไฟ(Delphi) ภาษาซีพลัสพลัส(C++)เข้าไว้ด้วยกัน มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมดังที่กล่าวไปแล้วนั้นอาจยุ่งยากและซับซ้อน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ปัจจุบันได้มีวอฟแวร์สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมภาษา C# อยู่จำนวนมากให้เลือกใช้ซึ่งเพิ่มความสะดวกและลดข้อผิดพลาดได้มากหนึ่งในซอ ฟแวร์นั้นคือ Microsoft Visual studio 2008

5.เมื่อได้ออกแบบโปรแกรมที่ต้องการแล้ว และจะเริ่มสร้างโปรแกรมด้วยภาษาซีซาร์ป จะต้องมีขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมอย่างไร
ตอบ มีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.การวิเคราะห์ปัญหา เป็นขั้นตอนของการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานปัจจุบัน จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ดังนี้
1) ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
2) ความเป็นไปได้ด้านบุคลากร
3) ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐสาสตร์


2.การออกแบบโปรแกรม เป็นการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบโปรแกรม โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้การออกแบบเป็นมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งเครื่องมือในการออกแบบที่นิยมใช้ได้แก่ ผังงาน และรหัสจำลอง


3.การเขียนโปรแกรม เป็นการนำผลที่ได้จากการออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานหรือรหัสจำลอง มาแปลงเป็นคำสั่งของโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลและได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่อไป โดยผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ได้ตามความถนัดของแ่ต่ละบุคคล ต่อไป

4.การทดสอบโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความถููกต้องในการทำงาน และตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรม ดดยทั่วไปข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมมี 3 ชนิด
1) ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์
2) ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะรันโปรแกรม
3) ข้อผิดพลาดทางตรรกะ



5.การจัดทำเอกสารประกอบ หมายถึง การเตรียมเอกสารอธิบายโปรแกรม ซึ่งมีความสำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่องหลังจากการพัฒนาโปรแกรม ดดยทั่วไปเอกสารที่จัดทำมีอยู่สองประเภท คือ คู่มือผู้ใช้ และคู่มือนักเขียนโปรแกรมเมอร์

3.Creative Chapter 4 on mind mappingstyle








2.Creative chapter3 on mind mapping style




1.Choose between Activity 1or2 pages 68 and explain it into your blogger



กิจกรรมที่1 ให้นร.เลือกปัญหาในชีวิตประจำวันมา 1 ปัญหา แล้วเขียนอธิบายการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการใช้ข้อความหรือคำบรรยาย


การทำแกงจืดไข่น้ำ


รายละเอียดปัญหา: ไม่รู้ลำดับขั้นตอนการใส่เครื่องปรุง หรือไม่รู้ขั้นตอนในการทำแกงจืด ไข่น้ำ



การวิเคราะห์: นักเรียนวิเคราะห์จากแกงจืดไข่น้ำที่นักเรียนรับประทานได้ดังนี้

1.ผลลัพธ์คือแกงจืดไข่น้ำ2.สิ่งนำเข้าคือเครื่องปรุง ได้แก่ หมูสับ ไข่ไก่ น้ำมันพืช หัวหอมใหญ่
น้ำ น้ำปลา พริกไทย กะหล่ำปลี กระเทียมเจียว และต้นหอม
3.วิธีการประมวลผลคือ ขั้นตอนการทำแกงจืดไข่น้ำ


การออกแบบขั้นตอนวิธีด้วยการบรรยาย

1.ตั้งกระทะบนเตาไฟใส่น้ำมันพืชลงไปรอจนกระทั่งน้ำมันร้อนจึงใส่ไข่ที่ตีจนขึ้นฟู และปรุงรสและลงไปเจียวให้เหลือง เมื่อสุกแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เตรียมไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป

2.นำน้ำใส่หม้อแล้วนำไปตั้งไฟ รอจนกระทั่งเดือดจึงใส่หมูสับ แล้วรอจนกระทั่งหมูสุก

3.ใส่หอมใหญ่กระหล่ำปลี ต้นหอม ต้มให้เดือด จากนั้นจึงใส่ไข่เจียว ที่หั่นเป็นชิ้นไว้แล้ว และเครื่องปรุงที่เหลือ ต้มจนเดือดอีกครั้งจึงตักใส่ถ้วย และโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยนำเสนอในรูปแบบแผนผังความคิดและอธิบายรายละเอียด


ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ


1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State The Problem) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหาแต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้

การระบุข้อมูลเข้า
ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา


การระบุข้อมูลออก
ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ


การกำหนดวิธีประมวลผล
ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก

2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วนหลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1 แล้วเราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลักหากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา
ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา
ซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
อีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญในการแก้ปัญหา คือ
ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า “ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหาหลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้วผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูก
ต้องที่สุด การออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังงาน (Flowchart) ที่จำลองวิธีขั้นตอนการแก้ปัญหาในรูปแบบสัญลักษณ์
รหัสจำลอง (Pseudo Code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการปัญหาในรูปแบบคำบรรยายการใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้วยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

3) การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหาขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

4) การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออกเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได(Stair)ที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญ
ต่างๆ ได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา ก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง 4 นี้ เช่นกัน


วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

About me :) Narupol


ประวัติส่วนตัว

name Narupol petngam M5/5 No 4
โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม เรียน วิทย์-คณิต EIS 
ชอบรับประทาน ก๋วยเตี๋ยวไก่
ชอบสี ฟ้า
ผมชอบดูบอล



ผมชอบนักเตะ Messi
ผมชอบเล่น game
เป็นคน ตลก มั้ง 555+
ผมขอเกรด 4 555+



facebook: Bell narupol